กิจกรรม Walk Rally เดินเท้าปลอดภัย

  วันที่ 2-5 กันยายน 2556, Safe Kids Thailand (SKT) /CSIP Safe Kids Thailand (SKT) /CSIP และอาสาสมัครนักศึกษา จัดกิจกรรม Walk Rally  
  เดินเท้าปลอดภัย (Pedestrian Safety Walk Rally) เพื่อให้ความรู้ และวิธีที่ถูกต้องปลอดภัยในการเดินและข้ามถนนแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ป.4-ป.6
  จำนวน 622 คนจาก 5 โรงเรียน ได้แก่
 
  โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง (144 คน)
  โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ จ.ระยอง (102 คน)
  โรงเรียนบ้านปลวกแดง จ.ระยอง (120 คน)
  โรงเรียนสายอนุสรณ์ จ.สมุทรปราการ (136 คน)
  และโรงเรียนเทศบาล1 เยี่ยมเกษสุวรรณ จ.สมุทรปราการ (120 คน) 
   
  เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธี “เดินและข้ามถนน..ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก” ผ่านเกมสนุกๆ 2 ฐาน ได้แก่
   
  ฐาน 1 แผนที่ตัวกวน..ชวนเดินปลอดภัย
  เด็กๆ เรียนรู้วิธีการเดินเท้าในสถานการณ์ต่างๆ เช่น
  วิธีเดินหากไม่มีทางเท้าหรือฟุตบาท, วิธีเดินในเส้นทางใกล้แหล่งน้ำ ฯลฯ
   
 
  ฐาน 2 ข้ามได้ข้ามดี..ข้ามทั้งทีต้องปลอดภัย  
  เด็กเรียนรู้การข้ามถนน 3 รูปแบบ ได้แก่ ข้ามถนนโดยใช้ทางม้าลาย, ข้ามถนนที่มีมากกว่า 2 ช่องทางจราจร,
  และข้ามถนนตรงหัวมุมหรือทางแยก
   
  นอกจากนี้เด็กเรียนรู้เพิ่มเติม เช่น การข้ามถนนโดยใช้ 5 ขั้นตอน “หยุด-มอง-ฟัง-คิด-เดิน”, วิธีข้ามตรงทางรถไฟ  
  และสัญลักษณ์จราจรที่เกี่ยวข้องเช่น สัญญาณไฟคนข้ามถนน สัญญาณไฟจราจร ป้ายระวังคนข้ามถนน ฯลฯ
   
 
  เด็กๆ มีความสุขและสนุกกับกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบนี้ ได้รับความรู้มากขึ้น และอยากให้พี่ๆ  SKT กลับมาสอนพวกเขาอีก
  (สรุปจากใบประเมินผลรูปหัวใจที่เด็กๆ เขียนความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรม)
   
 
  จากการวัดผลความรู้นักเรียน 622 คนพบว่า มีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม 62% เป็น 77% และจากการสำรวจพฤติกรรมเดินเท้า
  (Behavioral survey) พบประเด็นสำคัญ เช่น
  เด็กเดินเท้าไปกลับโรงเรียนเพียงลำพังและขาดความรู้ (22%)
  และยังขาดความสามารถในการเลือกทางข้ามที่ปลอดภัย
   
  เด็กส่วนใหญ่เดินไปกลับโรงเรียนกับเพื่อน(40%) และเดินกับน้องของตน(16%)
  ซึ่งทำให้เด็กเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยน้อยลง
  เมื่อพวกเขาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆข้ามถนนตามเพื่อน
  และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนไม่เพียงพอที่จะดูแลเด็กที่อายุน้อยกว่าได้(น้องของตน)
  ในระหว่างเดินเท้า เด็กเคยถูกมอเตอร์ไซค์ชน(15%)
  เคยถูกจักรยานชน(19%)
  และรู้สึกไม่ค่อยปลอดภัยในระหว่างเดินไปกลับโรงเรียน(33%)
   
  ซึ่งอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นขณะที่เด็กเดินไปกลับระหว่างบ้าน-โรงเรียนและในบริเวณที่เด็กคุ้นเคย
  โดยเฉพาะช่วงหลังเลิกเรียน ซึ่งข้อค้นพบเหล่านี้ ได้เผยแพร่แก่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น
  ครอบครัว โรงเรียน หน่วยงาน สื่อ ฯลฯ
  และนำไปสู่การจัดอบรมและกิจกรรมเชิงป้องกัน ในเฟสถัดไปที่สอดคล้องกับปัญหาที่ค้นพบมากขึ้น  
   
 

แผนที่ตามติดชีวิตเด็กเดินเท้า  (Follow a Child’s Step by Route Mapping)

  นักเรียน 622 คนจาก 5 โรงเรียน ได้แก่
  โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง
  โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ จ.ระยอง
  โรงเรียนบ้านปลวกแดง จ.ระยอง
  โรงเรียนสายอนุสรณ์ จ.สมุทรปราการ
  และโรงเรียนเทศบาล1 เยี่ยมเกษสุวรรณ จ.สมุทรปราการ
   
  ระบุบริเวณที่ปลอดภัยและบริเวณที่อันตรายตามเส้นทางที่ใช้เดินเท้ามาสถานศึกษาเป็นประจำ
  ผ่านการวาดแผนที่ พบว่ามีเด็กจำนวน 593 คน
  สามารถระบุจุดเสี่ยงต่อการเดินและข้ามถนนเคยเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินเท้า
  และมีเด็กจำนวน 551 คน
  เคยเกิดอุบัติเหตุบริเวณที่เขาคุ้นเคย เช่น ละแวกบ้านหรือขณะเดินทางไปสถานศึกษา  
   
 
   
  โฟโต้วอยซ์ เฟส 1  (PHOTOVOICE’ Phase I)
  วันที่ 3 กันยายน 2556, Safe Kids Thailand (SKT) / CSIP ร่วมกับโรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง
  ผู้นำชุมชน, และอาสาสมัครนักศึกษา จัดอบรม
  โฟโต้วอยซ์ เฟส 1 (PHOTOVOICE Phase I) แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ป.4-6 จำนวน 10 คน
  พบว่าเด็กๆ ได้แสดงบทบาทในการถ่ายภาพความเสี่ยงต่อการเดินเท้าในเส้นทางที่พวกเขา
  ต้องเดินไปกลับบ้านและโรงเรียน สิ่งที่ปรากฏคือ 10 จุดเสี่ยงต่อการเดินเท้าในเส้นทางที่เด็กต้องเดินผ่านทุกวัน
  ได้ถูกเปิดเผยด้วยภาพถ่าย และแผนที่จุดเสี่ยง(เด็กวาดแผนที่จุดเสี่ยงประกอบ)   
   
 
   
 

ภาพถ่าย 10 จุดเสี่ยงฝีมือนักเรียน

   
 
  ด.ญ.ศศิธร หอมละออ (เบลล์) อายุ 9 ปี ชั้น ป.4/2
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “วางสิ่งของบนทางเดินหนู”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ ซอยข้างกำแพงโรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “เด็กอาจโดนรถชน เพราะว่ามีของหรือเศษไม้
 

อยู่บนฟุตบาท เลยต้องเดินออกมาบนถนนที่มีรถวิ่งผ่านไปมา”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “เก็บทำความสะอาดสิ่งของ
  หรือเศษไม้ ไม่ให้วางอยู่ตรงทางเท้า”
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  “เจ้าของบ้าน เจ้าหน้าที่
  เทศบาล และคนในชุมชน”
   
 
  ด.ญ.ณัฐวดี บุญตะคุ (เชียร์) อายุ 10 ปี ชั้น ป.4/1
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “ซอยแยกที่น่ากลัว”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ ซอยสัมฤทธิ์ 1

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “เราเดินออกมาจากซอย เราอาจไม่เห็นรถ
 

รถอาจชนเราได้ และมีเสาไฟฟ้าบังอยู่ด้วย”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “ติดตั้งกระจกกลมช่วยสะท้อนเวลารถมา
  เราจะได้มองเห็น และไม่เกิดอุบัติเหตุ”
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  “เทศบาลช่วยติดตั้งกระจกให้”
   
   
 
 
  ด.ช.ยศวริศ เจริญสุข (นิค) อายุ 11ปี ชั้น ป.5/1
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “สามแยกอันตราย”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ หน้าโรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  อย่างไร  “ตอนเช้า-เย็น มีเด็กนักเรียนเดินเยอะ
 

และมีรถสัญจรมากมาย เด็กนักเรียนอาจโดนรถชน”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “ทำทางม้าลาย
  ให้ตำรวจ...มาจัดระเบียบ”
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  เทศบาลของจังหวัดระยอง
 

โรงเรียน นักเรียน

   
   
 
  ด.ช.วุฒิชัย โพธิกามล (ปังปอน)อายุ 11ปี ชั้น ป.5/1
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “สี่แยกอันตราย”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ ซอยสัมฤทธิ์ 2

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “เสี่ยงเพราะมันเป็นสี่แยก มีรถขับขี่ไปมา
 

เป็นมุมหักศอก คนมาทำให้มองไม่เห็น”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  "เอากระจกนูนมาติด จะได้ เห็นรถที่ผ่านไปมา”
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  เทศบาลนครระยอง
   
   
   
 
  ด.ญ.ศิวนันท์ เที่ยงตรง (เนิส)  อายุ 10ปี  ชั้น ป.5/2 
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “หลุมนี้อันตราย”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ ข้างหน้าเซเว่นก้นปึก

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “อาจมีเด็กเดินแล้วตกลงไปในหลุม
 

เนื่องจากมีหลุมอยู่ตรงนั้น”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “ให้คนแถวนั้นเอาหินมาวางปิดไว้
 

หรือให้ช่างก่อสร้างเอาปูนมาถม”

   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  คนในชุมชน
   
   
 
  ด.ญ.จุฑามาศ ศิริปี (ครีม)  อายุ 11ปี ชั้น ป.5/2
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “ไม้กลางถนน”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ ซอย 2 ถนนสัมฤทธิ์

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “เสี่ยงเพราะถ้ารถผ่านมาอาจจะชนคนที่เดิน
 

หรือรถอาจจะชนกันก็ได้”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “เอาไม้ออก และทำให้มัน สะอาด”
   
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  เทศบาลช่วยขนไม้ หรือทำความสะอาด
   
   
 
 
  ด.ญ.ณัฐณิชา สมินเย (เจน)  อายุ 12ปี ชั้น ป.6/1
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “ต่างระดับพื้นถนน”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “พื้นถนนขรุขระ พื้นถนนต่างระดับกัน
 

อาจทำให้สะดุดหรือหกล้ม”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “ควรแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาทราบ
 

เพื่อจะได้ปรับปรุงสถานที่”

   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
 

ผู้อำนวยการสถานศึกษา

 

 

   
   
 
  ด.ญ.ชลธิชา ชัยมงคล (เฟิร์น)  อายุ 13ปี ชั้น ป.6/1
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “หลุมอุบัติภัย”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ กลางสนาม ในโรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “อาจทำให้หกล้มได้ เพราะบริเวณนี้มีเด็กเคยหกล้ม
 

เนื่องจากชอบใช้บริเวณนี้เล่นกีฬาต่างๆ”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “อยากให้คุณครูนำไปเสนอ ผอ.โรงเรียน เพื่อที่จะให้ ผอ.
  หางบนำมาพัฒนาพื้นที่ เช่น ทาปูนถมทับที่ๆ มีหลุม”
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  ครู ผอ.โรงเรียน เทศบาล และอีกหลายๆ หน่วยงาน
   
   
   
   
   
   
 
  ด.ญ.นิสาชล วันยาเล (นุช)  อายุ 12ปี ชั้น ป.6/2
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “หัวโค้งอันตรายต่อประชาชน”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ ซอยข้างกำแพงโรงเรียน

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “รถหรือคนมองไปไม่เห็นรถ อาจชนกันได้
 

และอาจชนเด็กนักเรียนได้อีกด้วย”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  เอากระจกหัวโค้งมาติดตั้ง
   
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  เทศบาล โรงเรียน ตำรวจ ครู นักเรียน
   
   
 
  ด.ญ.ชมพู่ ใหม่ (ชมพู่)  อายุ 13ปี ชั้น ป.6/2
 

โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง

 

ชื่อภาพ “ระวังอันตรายจากกิ่งไม้อันน้อยนิด”

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ ซอยสัมฤทธิ์

   
  ภาพนี้เสี่ยงอย่างไร
  “มีกิ่งไม้วางทับทางเดิน เวลาคนเดินอาจจะเกิด
 

อันตรายได้เพราะไม่มีทางเดิน เวลารถมาอาจจะถูกเฉี่ยวได้”

   
  ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร
  “ควรเอากิ่งไม้ออก จากบริเวณนั้นให้หมด”
   
   
  ใครบ้างที่รับผิดชอบปรับปรุง/แก้ไข
  เทศบาล
   
   
 

นิทรรศการภาพถ่ายโฟโต้วอยซ์ “ผู้ใหญ่จะทำอย่างไร เมื่อเห็นภาพของหนู?”  

   
  วันที่ 23 กันยายน 2556,  โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง ร่วมกับ
  Safe Kids Thailand (SKT) / CSIP, เทศบาลนครระยอง, ตำรวจ, ชุมชน,ครอบครัว และภาคีต่างๆ
  จัดงานนิทรรศการภาพถ่ายโฟโต้วอยซ์ “ผู้ใหญ่จะทำอย่างไร เมื่อเห็นภาพของหนู?” มีผู้ร่วมงานประมาณ 150 คน
  (หน่วยงานส่วนกลาง ศูนย์วิจัยฯ ท้องถิ่น โรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง สื่อ) โดย
  นักเรียนเจ้าของภาพ 10 คน นำเสนอจุดเสี่ยงจากภาพ PHOTOVOICE 
  ผู้ใหญ่ได้ซักถามและโหวตภาพที่คิดว่าเสี่ยงที่สุดคนละ 1 ภาพ
   
  โดยการติดสติ๊กเกอร์ 1 ดวง (อันดับ 1 ได้ 60 คะแนน คือ ภาพที่ 5“หลุมนี้อันตราย” ของ ดญ.ศิวนันท์ เที่ยงตรง ป.5/2)
   
 
   
 

โฟโต้วอยซ์ เฟส 2  (‘PHOTOVOICE’ Phase II)   

 

การปรับแก้สิ่งแวดล้อมเสี่ยง

   
  วันที่ 12 กันยายน 2556,  Safe Kids Thailand (SKT) / CSIP  ร่วมกับเทศบาลนครระยอง
  อ.ชาญณรงค์ ไวยพจน์ (ประธานอนุกรรมการวิศวกรรมความปลอดภัย สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย),
  แกนนำชุมชน, และโรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง
   
  ทำการสำรวจจุดเสี่ยงจากภาพถ่าย
  PHOTOVOICE ของนักเรียน
  และหารือร่วมกันเกี่ยวกับแผนแก้ไขจุดเสี่ยง
  โดยที่ อ.ชาญณรงค์ ไวยพจน์ เป็นผู้ออกแบบการแก้ไขโดยยึดหลักโครงสร้างทางวิศวกรรมจราจร 
   
 
  วันที่ 23 กันยายน 2556  โรงเรียนเทศบาลบ้านปากคลอง จ.ระยอง ร่วมกับ Safe Kids Thailand (SKT)/CSIP,
  เทศบาลนครระยอง, ตำรวจ, ชุมชน,ครอบครัว
  ได้จัดเวทีประชุมแก้ไขจุดเสี่ยง โดยมีมติการแก้ไข ได้แก่
   
  ทำเครื่องหมายแบ่งเส้นทางรถ 
  และเส้นทางเดินให้ชัดเจน
   
  ทำที่จอดรถรับ-ส่ง
  ที่เป็นระเบียบบริเวณหน้าโรงเรียน
   
  อบรมอาสาจราจร
  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ดูแลบริเวณนักเรียนช่วงเช้า-เย็น
   
  ปลูกฝังวินัยและจิตสำนึก
  แก่เด็ก ผู้ปกครอง และชาวชุมชน
   
 
   
 

ผลการแก้ไข พบว่าแก้ไขทั้งสิ้น 3 จุด ได้แก่

 
1. ทำทางม้าลาย ทาสีตีเส้นทางม้าลายใหม่
  บริเวณปากทางเข้าโรงเรียน
   
2. จุดชะลอความเร็วรถ จำนวน 6 จุด
   
3. เปลี่ยนเสาไฟฟ้าใหม่ แทนเสาที่ล้มเอียง(บริเวณร้านค้าหน้าโรงเรียน)
  เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดินและสัญจร และป้องกันไฟฟ้ารั่วเป็นอันตรายต่อเด็กๆ
   
  ทำทางม้าลาย ทาสีตีเส้นทางม้าลายใหม่
  บริเวณปากทางเข้าโรงเรียน
   
 
   
  จุดชะลอความเร็วรถ จำนวน 6 จุด
 
  เปลี่ยนเสาไฟฟ้าใหม่ แทนเสาที่ล้มเอียง(บริเวณร้านค้าหน้าโรงเรียน)
  เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดินและสัญจร และป้องกันไฟฟ้ารั่วเป็นอันตรายต่อเด็กๆ