เข้าร่วมประชุม The Safe Kids Worldwide Global Network Meeting and the Safe Roads | Safe Kids Global Road Safety Summit

  นพ.ฉัตรชัย อิ่มอารมณ์ และ นส.กรวิการ์ บุญตานนท์ ตัวแทน Safe Kids Thailand / CSIP เข้าร่วมประชุม
  The Safe Kids Worldwide Global Network Meeting and the Safe Roads | Safe Kids Global Road Safety Summit  
  ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2557ณ the JW Marriott, Washington D.C. ประเทศสหรัฐอเมริกา
   
  เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ กลยุทธ์ เครื่องมือ ปัญหาอุปสรรค เรื่องเด็กและความปลอดภัยทางถนน
  และนำกลับมาพัฒนางานเด็กกับความปลอดภัยทางถนน
  ของศูนย์วิจัยฯ
   
  ผู้เข้าร่วมการประชุมมาจาก 23 ประเทศ (อเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, บราซิล, แคนาดา, จีน, เยอรมนี
  อินเดีย, อิสราเอล, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, เคนย่า, มาเลเซีย, เมกซิโก, นิวซีแลนด์, ฟิลิบปินส์, การ์ต้า, เซอเบีย, แอฟริกาใต้
  เกาหลีใต้, อุรุกวัย, เวียดนาม, และไทย)  มีข้อสรุปดังนี้
   
1. ประเทศสมาชิก 23 ประเทศได้นำเสนอข้อมูลองค์กร
  ผลงานที่สำเร็จ (ในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา),
  และแผนงานในอนาคต
   
  มีหลายกิจกรรมน่าสนใจนำมาปรับใช้ เช่น
  ประเทศออสเตรียจัดทำ “Child Safety House”
  บ้านจำลองการจัดสิ่งแวดล้อมปลอดภัยสำหรับเด็ก
   
  ซึ่งสามารถมาปรับใช้ในโรงพยาบาลรามาธิบดี แผนก OPD เพื่อให้พ่อแม่ที่พาบุตรมารับบริการได้เรียนรู้ได้
   
  ประเทศการ์ต้าประสบความสำเร็จเรื่อง Child Passenger Safety (CPST) technician
  สามารถผลิต technician ที่สามารถไปอบรมผู้อื่นต่อได้ถึง 50 คน และมีการรับรอง Certified ด้วย
   
  ซึ่งสามารถมาปรับใช้ในโรงพยาบาลรามาธิบดี เช่น
  จัดอบรมบุคลากรแพทย์/พยาบาล ให้ความรู้พ่อแม่ได้
   
2. the WHO Global Drowning Report ผู้แทน WHO (Dr.David Meddings)
  ได้รายงานสถานการณ์จมน้ำในเด็ก
  พบว่าในปี พศ.2555 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 372,000 ราย
  โดยเฉพาะเด็กในประเทศกำลังพัฒนา สาเหตุหลักๆ เช่น
   
  ขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครอง
  เด็กอาศัยและใช้ชีวิตติดแหล่งน้ำ และไม่มีรั้วกั้นเด็กออกจากแหล่งน้ำ
  ขาดแผนรับมือภัยธรรมชาติ (น้ำท่วม, สึนามิ) ฯลฯ
  และได้เสนอแนวทางป้องกัน ได้แก่
   
  ชุมชนมีส่วนร่วม เช่น ทำรั้วป้องกันเด็กตกน้ำ
  สอนเด็กให้ว่ายน้ำและช่วยเหลือตัวเองเมื่อจมน้ำได้
   
  ด้านนโยบายและข้อบังคับ เช่น
  มีแผนป้องกันจมน้ำระดับชาติที่ชัดเจนและทำได้จริง
   
  งานวิจัยและพัฒนา เช่น
  ปรับปรุงระบบรายงานการตายจากการจมน้ำให้มีตัวเลขที่ชัดเจน 
   
3. New Direction for the Global Network 
  เป็นข้อตกลงการทำงานร่วมกันระหว่าง
  Safe Kids Worldwide และประเทศสมาชิก
   
4. Child Passenger Safety Awareness Class 
  ทาง Safe Kids Worldwide ได้จัดส่งแนวทางและเครื่องมือการจัดอบรม Child Passenger Safety Awareness แก่ประเทศสมาชิก
  ที่ดำเนินการเกี่ยวกับส่งเสริมการใช้
  ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์
   
  ซึ่งประเทศไทย (ในนามศูนย์วิจัยฯ) ก็เป็นหนึ่งในนั้น และมีแผนนำสื่อการสอนไปปรับใช้
  และแปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้ผู้สนใจอื่นๆ ได้นำไปใช้ได้
   
5. การเปิดตัวแคมเปญ #SaveKidsLives (www.savekidslives2015.org)
  ซึ่งเป็นแคมเปญสำคัญของ
  the Third United Nations Global Road Safety Week (4-10 พฤษภาคม 2558)
  ในการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในทุกประเทศทั่วโลกโดยเน้นกลุ่มเด็ก
  (vulnerable group) ซึ่งมีบุคคลสำคัญ อาทิ
  คุณ Michelle Yeoh (นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง)
  ซึ่งเป็น Brand ambassador ของ the United Nations Global Road Safety
  ได้กล่าวเชิญชวนประเทศต่างๆ ร่วมมือรณรงค์เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ  
   
  ศูนย์วิจัยฯ ก็มีแผนกิจกรรมสอดรับแคมเปญดังกล่าว
  (ภายใต้แผน Safe Kids Walk This Way Program ปี 2557-2558)
  คือ กิจกรรม Global Road Safety Week: Safe Kids Safety Day
  ช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 สร้างกระแสภายใต้แคมเปญ
  #SaveKidsLives ‘Yield to Child Pedestrians in Crosswalk Sign’
   
6. ต่อเนื่องจากการเปิดตัวแคมเปญ#SaveKidsLives ทางผู้แทน WHO (Margie Peden, PhD) ได้พูดถึง
  Action Step-Global Road Safety Week 2015 and Beyond ได้พูดประโยคหนึ่งว่า
   
  “ป้องกันโรคเอดส์ ขนาดไม่มีกฎหมายบังคับใส่ถุงยางอนามัย ก็ยังรณรงค์ให้คนใส่ถุงยางสำเร็จได้
  ทำไมเรื่องความปลอดภัยถนน
  ที่มีกฎหมายชัดเจนอยู่แล้ว
  จะทำให้สำเร็จไม่ได้เชียวหรือ”
   
  และได้กล่าวว่า 5 เรื่อง ที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน
  เพื่อปกป้องเด็กจากอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่
  Child restrains Helmets Safety around schools Graduated driver licensing และ Alcohol restrictions
   
  ประโยชน์ที่ได้รับต่อตนเอง คือ
  ได้ความรู้ กลยุทธ์ เทคนิค วิธีการต่างๆ มาปรับใช้
  ในการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนน..และได้ประสบการณ์ดีๆ
  และรู้จักเครือข่ายต่างประเทศมากขึ้น 
   
  ประโยชน์ที่ได้รับต่อหน่วยงาน
  (ศูนย์วิจัยฯ) นำความรู้กลับมาพัฒนางานเด็ก
  กับความปลอดภัยทางถนนของศูนย์วิจัยฯ ได้แก่
  แผน Safe Kids Walk This Way Program (2014-2016)
  และแผนความปลอดภัยทางถนน (2015-2017)
   
  โครงการ “เด็ก don’t drive” (ก่อน15ปีไม่ขี่มอเตอร์ไซค์) 
  โครงการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของ
  หมวกนิรภัยเด็กตามมาตรฐานหมวกนิรภัยใหม่
  และโครงการ พัฒนากฎหมายที่นั่งนิรภัย
  การกำหนดนโยบายการลดภาษีที่นั่งนิรภัย
  และการรณรงค์การใช้ในเทศกาลสำคัญ