PHOTOVOICE Exhibition ครั้งที่ 3
จัดแสดง และ ประกวด ภาพถ่ายฝีมือเด็กระดับประถมศึกษา หัวข้อ

“ความเสี่ยงตาย ต่อการเดินเท้าของเด็กๆ”

เพื่อจุดประกายการเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัยในการเดินเท้าของเด็กๆ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ลานกิจกรรม บริเวณหน้าบิ๊กซี-ราชดำริ ถ.ราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม

 
     
 
 
     
 

ความเป็นมา
องค์การอนามัยโลกกล่าวไว้ว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศที่มีรายได้ระดับกลางและต่ำ
พบว่ามีอัตราการเพิ่มของอุบัติเหตุจราจรมากขึ้นในเมืองที่มีประชากรจำนวนมาก

ซึ่งเป็นสาเหตุนำการตายของเด็กทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 10-14 ปี
ผู้เดินเท้ามีความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด

โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียน หากถูกรถชนจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนขับรถ จากปัญหาดังกล่าว
Walk This Way Program (WTW)
ได้ถูกคิดและพัฒนาแผนงานโดยองค์กร Safe Kids Worldwide
และ FedEx ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2542
เพื่อส่งเสริมความรู้และวิธีการเดินเท้าที่ปลอดภัยแก่เด็กๆ
รวมถึงการปรับแก้สิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเดินเท้า การวิจัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ด้วยการมีส่วนร่วมจากพ่อแม่ ครู ชุมชน เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งโครงการได้ขยายผลไปสู่นักเรียนนับล้านคน และพันกว่าโรงเรียนที่เข้าร่วมจากประเทศต่างๆ
เช่น อเมริกา บราซิล แคนาดา จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี เวียดนาม ฯลฯ

Walk This Way Program (WTW) เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างไร?
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ศึกษาวิจัยพบว่า
อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

นอกจากนี้สถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพบว่า
คนเดินเท้ามีความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด
และสถิติข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากการศึกษาของศาสตราจารย์ยอดพล ธนาบริบูรณ์
พบว่า อุบัติเหตุคนเดินเท้าเกิดมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
ในเส้นทางที่เด็กต้องเดินไปโรงเรียน หรือเส้นทางตามที่ต่างๆ พบว่า
มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแวดล้อมตัวเด็ก ทั้งความเสี่ยงด้านสิ่งแวด
เช่น สภาพถนน ทางเท้า และเครื่องอำนวยความปลอดภัยสำหรับผู้เดินเท้า
ไม่เอื้ออำนวยให้เด็กเดินและข้ามถนนอย่างปลอดภัย, ระหว่างทางที่เด็กเดิน
มีบุคคลเสี่ยง เช่น ขี้เหล้า เมายา จี้ปล้น และสุนัขจรจัด ที่อาจทำอันตรายเด็ก,
สภาพอากาศและแสงสว่างที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฝนตกหนัก แสงแดดจ้า ช่วงใกล้ค่ำ
หรือช่วงกลางคืน ทำให้การข้ามถนนมีความเสี่ยงมากขึ้น ฯลฯ และความเสี่ยงด้านพฤติกรรม
เช่น ผู้ใหญ่มักประเมินความสามารถของเด็กสูงเกินไป เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
ยังขาดความชำนาญและความสามารถในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย,
เด็กๆ อาจจะทำอะไรที่เราคาดไม่ถึง เช่น อยู่ๆ ก็วิ่งออกมาบนถนน
วิ่งออกมาจากด้านหลังรถที่จอดอยู่ข้างทาง ฯลฯ

 
     
 
 
 
 
     
 

โดยเฉพาะเส้นทางเดิน (ฟุตบาทหรือทางเท้า) พบว่า
ทางเท้าส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

ไม่เอื้ออำนวยให้คนเดินได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะเด็กๆ
ที่ต้องใช้เส้นทางเดินไปกลับโรงเรียนและไปตามที่ต่างๆ

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทางเท้าถูกสร้างไว้ให้คนเดิน
สร้างไว้แยกคนออกจากถนนเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนขณะเดิน
แต่ที่พบเห็นทั่วไปทางเท้ากลับมีไว้สำหรับขายของ
มีไว้ให้รถมอเตอร์ไซค์ขับ มีไว้ให้รถยนต์ขึ้นไปจอด มีไว้นำกระถางต้นไม้ ตู้โทรศัพท์
เสาไปฟ้ามาตั้ง ฯลฯ หรือทางเท้าบางแห่งก็ชำรุดเสียหาย หรือไม่มีทางเท้าสำหรับคนเดิน
คนจึงต้องลงไปเดินบนถนนที่รถสัญจร ซึ่งน่าเป็นห่วงกลุ่มเด็กๆ เป็นอย่างมาก
เพราะเด็กไม่มีทักษะการระมัดระวังภัยได้เท่าผู้ใหญ่ เด็กตัวเล็กๆ ต้องลงไปเดินบนถนน
เพราะทางเท้าไม่มีที่ให้เดิน หรือไม่มีทางเท้าให้เดิน จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน
ที่ต้องรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของความปลอดภัยบนเส้นทางเดินของเด็กๆ
และสร้างกระแสเรียกร้องขอทางเท้าคืนให้เด็กๆ ขอทางเท้าที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและการปรับเปลี่ยนปรับปรุงด้านโครงสร้าง
เช่น สร้าง/ซ่อมทางเท้า อาจจะใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลสำเร็จ แต่ถ้าเราไม่เริ่มต้นหรือไม่ทำอะไรเลย
เด็กๆ ของเราก็จะตกอยู่ในความเสี่ยง ต้องตกอยู่ในอันตรายอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง


ด้วยความตระหนักในปัญหาดังกล่าว Safe Kids Worldwide
ร่วมกับ FedEx Express ประเทศสหรัฐอเมริกา

ให้การสนับสนุน Walk This Way Program (WTW) แก่ประเทศไทย

เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และสื่อต่างๆ ในการร่วมสร้างเสริมความปลอดภัยให้แก่กลุ่มเด็กเดินเท้าไปกลับโรงเรียน
และพัฒนาต้นแบบการมีส่วนร่วมของเด็กในการจัดการความปลอดภัย

โดยมีศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก(CSIP)
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ดำเนินการหลัก
ร่วมกับภาคีเครือข่ายใจดีต่างๆ อีกทั้งยังสอดรับกับแผนงาน
"ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน 2011-2020 "
(Decade of Action for Road Safety 2011-2020)

เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐและองค์กรต่างๆ แก้ไขปัญหาการเสียชีวิตและอุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากจราจร
ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับและความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่าย
Safe Kids Walk This Way Program
ได้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน
ในการสร้างเสริมความปลอดภัยในกลุ่มเด็กเดินเท้า ได้สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และวิธีการที่ถูกต้องปลอดภัยในการเดินเท้าแก่เด็กๆ ในโรงเรียนและชุมชนต่างๆ
และที่สำคัญได้ส่งเสริมต้นแบบการมีส่วนร่วมของเด็กในการจัดการความปลอดภัยในการเดินเท้า
ดังจะเห็นได้จากผลงานกิจกรรม PHOTOVOICE ที่ส่งเสริมความสามารถและศักยภาพของเด็ก
ผ่านภาพถ่ายความเสี่ยงต่อการเดินเท้าในมุมมองของเด็ก จุดประกายให้สังคมเกิดความตระหนักและช่วยกันแก้ไข

 
     
 
 
 
 
     
 

PHOTOVOICE

คือการประกาศด้วยภาพ (เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Walk This Way Program
ดำเนินการในหลายประเทศ เช่น อเมริกา แคนาดา บราซิล เกาหลี จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ฯลฯ
สนับสนุนโดย Safe Kids Worldwide, USA และ FedEx Asia Pacific)
เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถสะท้อนชุมชน และเปิดเผยให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงของสังคมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
สามารถจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและทางสังคม
โดยการมีส่วนร่วม มีการสื่อสาร และการจัดตั้งสมาชิกในชุมชน เด็ก ผู้ปกครอง ครู
และ สมาชิกในชุมชน จะได้มีส่วนร่วมในปัญหาเกี่ยวกับการเดินเท้าในชุมชนและร่วมหาหนทางแก้ปัญหานั้น
เด็กๆ ได้แสดงบทบาทในการถ่ายภาพความเสี่ยงต่อการเดินเท้าในเส้นทางที่พวกเขาต้องเดินไป-กลับบ้าน
และโรงเรียน สิ่งที่ปรากฏคือ ความเสี่ยงต่อการเดินเท้าในเส้นทางที่เด็กต้องเดินผ่านทุกวันได้ถูกเปิดเผยให้สังคมรับรู้ด้วยภาพถ่าย

จากความสำคัญข้างต้น จึงได้ขยายผลกิจกรรม PHOTOVOICE
สู่โรงเรียนระดับประถมศึกษา 4 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร และ จ.สมุทรปราการ
เพื่อให้ได้เห็นสภาพความเป็นจริงของการเดินเท้าที่เด็กต้องเผชิญ
อีกทั้งยังสามารถจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและทางสังคมโดยการมีส่วนร่วม
มีการสื่อสาร และการจัดตั้งสมาชิกในชุมชน เด็ก ผู้ปกครอง ครูและ สมาชิกในชุมชน
จะได้มีส่วนร่วมในปัญหาเกี่ยวกับการเดินเท้าในชุมชนและร่วมหาหนทางแก้ปัญหานั้น
จึงเป็นที่มาของการนำภาพความเสี่ยงเหล่านั้นมาเผยแพร่สู่สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ
เพื่อจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ความปลอดภัยต่อการเดินเท้าของเด็กๆ
และขยายผลแนวทางการสร้างเสริมความปลอดภัยในกลุ่มเด็กเดินเท้าแก่โรงเรียน
ในเขตกรุงเทพมหานคร ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไป
จึงเป็นที่มาของการนำภาพความเสี่ยงเหล่านั้นมาเผยแพร่สู่สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ
เพื่อจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ความปลอดภัยต่อการเดินเท้าของเด็กๆ
และขยายผลแนวทางการสร้างเสริมความปลอดภัยในกลุ่มเด็กเดินเท้าแก่โรงเรียน
ในเขตกรุงเทพมหานคร ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไป

วัตถุประสงค์

เพื่อเปิดเวทีส่งเสริมความสามารถและศักยภาพของเด็กและเยาวชน
ผ่านการนำเสนอภาพถ่ายความเสี่ยงต่อการเดินเท้าในมุมมองของเด็ก
ให้สังคมเกิดความตระหนักและเกิดการแก้ไขความเสี่ยงต่อไป
เพื่อใช้ภาพถ่ายเพื่อเป็นจุดเริ่มในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง และให้ความรู้แก่สาธารณะ
เพื่อขยายผล PHOTOVOICEแก่โรงเรียน หน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเสี่ยงต่อการเดินเท้า โดยจุดประกายจากภาพถ่ายฝีมือเด็ก