เขตโรงเรียนปลอดภัยทางถนน Safe School Zone

ตามที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดนโยบาย “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ปี 2554-2563” (Decade of Action for Road Safety 2011-2020) เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐและองค์กรต่างๆ ช่วยกันแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน Safe Kids Worldwide จึงจัดทำโครงการ Safe School Zone หรือเขตโรงเรียนปลอดภัยทางถนน ซึ่งพัฒนามาจากผลลัพธ์ของโครงการ Model School Zone ในปี 2554-2556 (สนับสนุนโดย FedEx) อันเนื่องมาจากเด็กเดินเท้าจำนวนมาก พบเจอความเสี่ยงจากยานยนต์ที่สัญจรอยู่บนถนนรอบๆ เขตโรงเรียน (School zone) โครงการ Safe School Zone จึงเน้นความปลอดภัยของเด็กเดินเท้าบริเวณโดยรอบโรงเรียนระดับประถมศึกษา

The U.S. National Center for Safe Routes to School ได้อธิบายว่า “Safe School Zone (เขตโรงเรียนปลอดภัย) จะเริ่มต้นตั้งแต่ประตูหน้า ครอบคลุมทุกเส้นทาง ทุกอาคารและโดยรอบโรงเรียนที่มีการจราจรผ่าน” เป้าหมายสูงสุดของโครงการ คือ การแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้สามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเด็กๆ ที่มีความหลากหลายของความเสี่ยงและปัญหารอบเขตโรงเรียนที่เกี่ยวข้องการความปลอดภัยทางถนน

โครงการ Safe School Zone (เขตโรงเรียนปลอดภัยทางถนน) โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ จ.น่าน เป็นโครงการที่เน้นการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน เริ่มต้นตั้งแต่ประตูหน้า ครอบคลุมทุกเส้นทาง ทุกอาคาร และโดยรอบโรงเรียนที่มีการจราจรผ่าน ประสบความสำเร็จจากความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ได้แก่ เทศบาลเมืองน่าน โรงพยาบาลน่าน ตำรวจ ชุมชน ทหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา Safe Kids Thailand ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก (CSIP) และ FedEx

โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ (เทศบาลบ้านภูมินทร์) จ.น่าน เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองน่าน มีนักเรียนทั้งหมด 522 คน มีชุมชนแวดล้อม ได้แก่ ภูมินทร์-ท่าลี่, มิ่งเมือง, พญาภู, พวงพะยอม, ศรีพันต้น, อภัยมณเฑียร, หัวข่วง, ช้างค้ำ, มงคล โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ Safe School Zone ในปี 2558 โดยมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ เช่น เป็นโรงเรียนที่ขาดความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐานความปลอดภัยทางถนน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อเด็กในการเดินเท้า เป็นโรงเรียนที่นักเรียนสามารถใช้เส้นทางเดินเท้าไปโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่สภาพแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เป็นโรงเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดด้านความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น การดำเนินงาน Safe School Zone แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 สำรวจและประเมินพื้นฐาน (Baseline Assessment)

คณะทำงาน ประกอบด้วยโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์, เทศบาลเมืองน่าน, ตำรวจ, โรงพยาบาลน่าน, ผู้ปกครอง, ผู้นำชุมชน, วิศวกรประจำโครงการ (อ.ชาญณรงค์ ไวยพจน์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), Safe Kids Thailand ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก และ FedEx ได้สำรวจข้อมูลโรงเรียน พบว่า โรงเรียนขาดความปลอดภัยในระบบโครงสร้างพื้นฐานความปลอดภัยทางถนน เช่น ไม่มีทางม้าลาย, โรงเรียนอยู่ในบริเวณที่จำเป็นต้องมีการลดความเร็วจราจร, ไม่มีการกำหนดจุดจอดรถรับ-ส่งนักเรียนที่ชัดเจน, มีสิ่งกีดขวาง (ร้านค้า) บนทางเท้าหน้าโรงเรียน, นักเรียนที่โดยสารรถมอเตอร์ไซค์ส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกกันน็อก ฯลฯ จากนั้นนำผลสำรวจมาจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา

ระยะที่ 2 กิจกรรมทดสอบ (Interventions)

คณะทำงานได้ออกแบบกิจกรรมครอบคลุมด้านสภาพแวดล้อม (Environment), เสริมสร้างความรู้และพฤติกรรม (Knowledge & Behavior) และการบังคับใช้ (Enforcement) ดังนี้

1.กิจกรรม Photovoice แกนนำนักเรียนชั้น ป.4-6 จำนวน 12 คนได้เข้าร่วมกิจกรรม Photovoice ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องเดินเท้าปลอดภัยและความปลอดภัยทางถนนเพิ่มขึ้น จากเดิม 80% เป็น 95% สามารถ่ายภาพจุดเสี่ยงเดินเท้าบริเวณเขตโรงเรียนได้มากกว่า 50 ภาพ และสามารถคัดเลือกภาพที่เสี่ยงที่สุดได้ 12 ภาพ (คนละ 1 ภาพ) เพื่อนำไปจัดนิทรรศการ

2. นิทรรศการภาพถ่าย Photovoice ณ หอประชุมโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ โดยนักเรียน 12 คนได้นำเสนอภาพถ่าย 12 ภาพแก่ผู้ร่วมงานกว่า 150 คน ประกอบด้วยโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์, เทศบาลเมืองน่าน, โรงพยาบาลน่าน, สถานีตำรวจภูธร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดน่าน, โรงเรียนละแวกใกล้เคียง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ผู้ประกอบการร้านค้าบนทางเท้า, ผู้ประกอบการขับรถรับ-ส่งนักเรียน, ผู้นำชุมชน, พ่อแม่/ผู้ปกครอง, Safe Kids Thailand ศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กฯ และสื่อท้องถิ่น ผู้ร่วมงานได้ทำการโหวตภาพที่เสี่ยงที่สุดและสมควรแก้ไขมากที่สุด ผลโหวต คือ ภาพ “ที่ซื้อของอันตราย” (มีร้านค้าตั้งอยู่บนทางเท้าหน้าโรงเรียน ทำให้เด็กไม่มีทางเดิน) ของ ดช.กิตติภณ ยะกับ นักเรียนชั้น ป.6 ได้รับโหวตสูงสุด ซึ่งคณะทำงานจะนำไปพิจารณาหาแนวทางแก้ไข รวมถึงจุดเสี่ยงอื่นๆ ของนักเรียนอีก 11 คนด้วย

3.แก้ไขจุดเสี่ยง (ดูเอกสารแนบ : สรุปการแก้ไขจุดเสี่ยง) หลังจากได้ข้อมูลจุดเสี่ยงจากแกนนำนักเรียน 12 คน (Photovoice) คณะทำงานได้สำรวจจุดเสี่ยงเพิ่มเติม สรุปได้ทั้งสิ้น 13 จุด เช่น ไม่มีทางม้าลายสำหรับข้ามถนนหน้าโรงเรียน, ไม่มีการกำหนดจุดรับ-ส่งนักเรียนที่ชัดเจนทั้งบริเวณประตูหน้า-หลังโรงเรียน, มีร้านค้าตั้งขายบนทางเท้าหน้าโรงเรียน ฯลฯ จากนั้นได้จัดประชุมโดยมีนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองน่านเป็นประธาน เพื่อหาข้อสรุปแนวทางแก้ไขจุดเสี่ยง และได้ดำเนินการแก้ไขทั้ง 13 จุดตามแผนงบประมาณ

การแก้ไขส่วนใหญ่มาจากเทศบาลเมืองน่าน และ FedEx ตลอดจนได้รับความอนุเคราะห์แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ สีทาถนน จากภาคีเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บริษัทนิปปอน, บริษัทบริติชเพนท์ ฯลฯ ทั้งนี้คณะทำงานลงความเห็นว่า จุดเสี่ยงที่แก้ไขยากที่สุดคือ การย้ายร้านค้าออกไปจากทางเท้าหน้าโรงเรียน เนื่องจากร้านค้าได้ตั้งขายมานานหลายปี

แต่การย้ายร้านค้าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกระทบต่อการทำมาหากินของชาวบ้าน แต่คณะทำงานเห็นแก่ความถูกต้องและความปลอดภัยของเด็กนักเรียนมากกว่า เทศบาลจึงเข้าเจรจากับร้านค้า และหาที่ค้าขายแห่งใหม่ที่ไม่ด้อยกว่าเดิม จนร้านค้ายินยอมย้ายออกจากทางเท้าด้วยความตระหนักในความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งเป็นตัวอย่างการจัดการที่ดีแก่พื้นที่อื่นๆ ที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เช่นในเขตเมืองหรือในกรุงเทพฯ

4.สร้างเสริมความรู้ ภายหลังการแก้ไขจุดเสี่ยงเสร็จสิ้น ทางคณะทำงานเห็นว่าควรให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยการเดินเท้าของเด็กนักเรียน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว เช่น ทางม้าลายที่ทำขึ้นใหม่นั้นนักเรียนทุกคนจะต้องข้ามทางม้าลายทุกครั้ง Safe Kids Thailand ศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กฯ ร่วมกับโรงพยาบาลน่าน และตำรวจ จัดอบรมให้ความรู้ ดังนี้


1.ให้ความรู้นักเรียน ชั้น ป.1-6 จำนวน 351 คน เกี่ยวกับการเดินและข้ามถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย ผลที่ได้ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม 70% เป็น 82%

2.ให้ความรู้พ่อแม่/ผู้ปกครอง, ครู, ผู้ประกอบการรถรับ-ส่ง จำนวน 190 คน เกี่ยวกับการดูแลเด็กเรื่องความปลอดภัยเดินเท้าและข้ามถนน รวมถึงการเดินทางอื่นๆ เช่น รถรับ-ส่งนักเรียน, โดยสารรถจักรยานยนต์


5. การบังคับใช้ โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์และคณะทำงาน (ตำรวจ, เทศบาล) ได้ทำความเข้าใจและสร้างข้อตกลงการจอดรถรับ-ส่งนักเรียนในบริเวณที่กำหนดแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองและผู้ประกอบการขับรถรับ-ส่งนักเรียน ผลที่ได้ มีการจอดรถรับ-ส่งที่เป็นระเบียบมากขึ้น แต่ความเป็นระเบียบนั้นไม่ถูกทำอย่างต่อเนื่อง คณะทำงานจึงวางแผนจะชี้แจงข้อตกลงใหม่อีกครั้งและจัดทำสัญลักษณ์การจอดรับ-ส่งที่ชัดเจนขึ้น

6.งานเปิดตัว Safe School Zone แห่งแรกใน จ.น่าน เพื่อขยายผลโครงการและแสดงให้เห็นว่า โครงการ Safe School Zone สามารถปรับปรุงความปลอดภัยของเด็กเดินเท้า และเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนต่างๆ รวมถึงรัฐบาลและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนได้ Safe Kids Thailand ศูนย์วิจัยฯ ร่วมมือกับ FedEx, โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์, เทศบาลเมืองน่าน, โรงพยาบาลน่าน, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีนายกเทศมนตรีเมืองน่าน ให้เกียรติเปิดโครงการร่วมกันกับนาย David Carden กรรมการผู้จัดการบริษัท FedEx Express ประเทศไทยและอินโดจีน โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 150 คน และสื่อมวลชน 14 แห่งร่วมทำข่าว

ระยะที่ 3 การประเมินผล (Post Assessment)

คณะทำงานนำโดยวิศวกรประจำโครงการ (อ.ชาญณรงค์ ไวยพจน์) ทีมเทศบาลเมืองน่าน และภาคีเครือข่าย ได้สำรวจข้อมูลเพื่อประเมินผล พบว่า

1.ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก้ไขแล้ว 13 จุด ยังไม่พบอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน และได้ติดตั้งกล้อง CCTV หน้าประตูโรงเรียนเพื่อดูแลความปลอดภัยและเฝ้าดูพฤติกรรมคนขับรถเพิ่มเติม, การจอดรถรับ-ส่งนักเรียน, ตลอดจนพฤติกรรมการเดินเท้าและข้ามถนนของนักเรียน

2.ด้านความรู้และพฤติกรรม นักเรียน, ครู, พ่อแม่/ผู้ปกครอง, ผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยเดินเท้าของเด็กเพิ่มขึ้นจากการเข้าอบรม ตลอดจนนักเรียนและพ่อแม่/ผู้ปกครองมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยขึ้น เช่น การข้ามทางม้าลาย แต่ต้องเฝ้าติดตามต่อไป

3.ด้านการบังคับใช้ การจอดรถรับ-ส่งนักเรียนในจุดที่กำหนดมากขึ้น แต่ความเป็นระเบียบนั้นไม่ถูกทำอย่างต่อเนื่อง คณะทำงานจึงวางแผนจะชี้แจงข้อตกลงใหม่อีกครั้งและจัดทำสัญลักษณ์การจอดรับ-ส่งที่ชัดเจนขึ้น ในส่วนของการจำกัดความเร็วรถหน้าโรงเรียนนั้นยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ จ.น่าน สามารถปรับปรุงความปลอดภัยของเด็กเดินเท้า โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานถาวร จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งครูและนักเรียน, ครอบครัว, ชุมชน, ตำรวจ, โรงพยาบาลน่าน, เทศบาลเมืองน่านที่สนับสนุนกำลังคนและงบประมาณแก้ไขจุดเสี่ยง ฯลฯ รวมถึงหน่วยงานภายนอก สามารถเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆ

นอกจากนี้จากความสำเร็จของโครงการ โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ ได้รับเชิญนำเสนอผลงาน Safe School Zone ในงานสัมมนาระดับชาติ ครั้งที่ 12 เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ปี 2558 ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ตัวแทนนักเรียนได้มอบหลักสูตร Photovoice ซึ่งเป็นกุญแจความสำเร็จแก่ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ให้นำไปบรรจุในกิจกรรมทางเลือกของโรงเรียน สอดรับนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

จากความสำเร็จของโครงการ คณะทำงานจึงขยายผลด้วยการพัฒนาโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เป็นที่ศึกษาดูงานและจัดอบรมการทำ Safe School Zone แก่โรงเรียนอื่นๆ ในปี 2560-2562 โดยเริ่มจาก 100 โรงเรียนในจังหวัดน่านเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา และค่อยขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป

ทั้งนี้โรงเรียนใน จ.น่าน ที่ได้เข้าร่วมดูงาน ได้นำกลับไปพัฒนาโรงเรียนของตน มากบ้างน้อยบ้างตามกำลัง แต่ที่รุดหน้าอย่างเห็นได้ชัด คือ โรงเรียนบ้านปรางค์ อ.ปัว ที่มีจุดเด่นในด้านการผนึกกำลังกันระหว่างโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง พ่อค่าแม่ค้า ท้องถิ่น อบจ. ตำรวจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อ.ชาญณรงค์ ไวยพจน์, วิศวกร) Safe Kids Thailand ศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็ก FedEx และที่สำคัญมีการประสานความร่วมมือกับโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ ที่เป็น Safe School Zone แห่งแรก จ.น่าน และเทศบาลเมืองน่าน

ทั้งนี้โรงเรียนบ้านปรางค์อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็น Safe School Zone แห่งที่ 2 ต่อจากโรงเรียนจุมปีฯ

Safe Kids Thailand / CSIP ได้รับการสนับสนุนจาก FedEx ทำให้มีโรงเรียนสองแห่งในเขตปลอดภัยของโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนนโรงเรียนแห่งแรกคือโรงเรียนจำปาวนิดาพรและที่สองคือโรงเรียนบ้านปรางค์

โดยความร่วมมือของพันธมิตรโรงเรียนได้ทำการปรับปรุงความเสี่ยงในเขตโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของคนเดินถนนและยังเพิ่มความรู้และพฤติกรรมในหมู่นักเรียนครูผู้ปกครองผู้ปกครองผู้ขับรถโรงเรียน ฯลฯ

ในปีนี้ความพยายามโซนโรงเรียนปลอดภัยยังคงดำเนินต่อไป ใน 50 โรงเรียนที่ดำเนินโครงการในโรงเรียนเช่นการศึกษาในโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานการเดิน หลังจากการแทรกแซงหลายครั้ง Safe Kids Thailand ร่วมกับวิศวกรโครงการมีโรงเรียนติดตามผล ผลการวิจัยพบว่ามีการปรับปรุงพื้นที่เสี่ยง 108 แห่งในและรอบ ๆ โรงเรียนเช่นการข้ามถนนหน้าโรงเรียนกับตำรวจจราจรหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยการกำหนดกฎจราจรสำหรับการข้ามถนนไม่อนุญาตให้มีผู้ค้าขายบนถนน .

นอกจากนี้ยังมีการศึกษานักเรียนครูผู้ปกครองผู้ปกครองคนขับรถ / เจ้าของรถโรงเรียนด้วย จำนวนผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการประมาณ 12,111 คน นอกจากนี้มากกว่า 2,700 ของผู้ปกครองครูชุมชนหน่วยงานท้องถิ่น

นอกเหนือจากความสำเร็จของ Safe School Zone เราพบเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจของโรงเรียนบางแห่งที่อาจเป็นตัวอย่างและเป็นแรงบันดาลใจให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ตัวอย่างเช่นโรงเรียนบ้านปรางค์เหตุผลในการเข้าร่วมเขตปลอดภัยของโรงเรียนเนื่องจากอันตรายต่อนักเรียนที่นำเสนอในเขตโรงเรียนเช่นการขับรถด้วยความเร็วสูงหลีกเลี่ยงการหยุด

หรือไม่ยอมให้นักเรียนข้ามถนนไม่มีทางข้ามที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย พื้นที่สำหรับนักเรียนผู้ค้าขายริมถนนหน้าโรงเรียนทำให้นักเรียนเยี่ยมชมและถูกรถชน ดังนั้นอาจารย์ที่ดูแลนักเรียนของเขานายบุญนาคชัยศิลป์ได้กล่าวหาว่าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ แต่ได้รับความช่วยเหลือไม่เพียงพอ นั่นเป็นเหตุผลที่เขาตัดสินใจเข้าร่วม Safe School Zone และประสานงานกับ Safe Kids Thailand เขามุ่งเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานโซนโรงเรียนและการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนน

สิ่งนี้สื่อสารกับผู้ปกครองของนักเรียนและหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อป้องกันการบาดเจ็บบนท้องถนนทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียน ก่อนที่จะมีโครงการมีพื้นที่เสี่ยงภัยทางถนนจำนวนมากการจราจรที่ไม่ได้รวบรวมในชั่วโมงเร่งด่วนการบาดเจ็บบนท้องถนนบ่อยครั้งไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ หลังจากเข้าร่วมโครงการจะมีการแก้ไข 10 รายการ

ตัวอย่างเช่น การมีคนเดินข้ามถนนหน้าโรงเรียนพร้อมกับตำรวจจราจร หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยการกำหนดกฎจราจรสำหรับการข้ามถนนไม่อนุญาตให้มีผู้ค้าขายริมถนนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความกังวลมากขึ้นและรับผิดชอบเรื่องนี้ พบการบาดเจ็บบนท้องถนนเป็นศูนย์ในพื้นที่เสี่ยง ปริมาณการใช้ข้อมูลถูกจัดระเบียบมากขึ้น เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนครูนักเรียนและผู้ปกครองมีความสอดคล้องกับระเบียบวินัยการจราจร พบกรวยจราจรและทางเดินที่ทาสีชัดเจน

ความพึงพอใจของเขาจาก Safe School Zone ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีระเบียบวินัยการจราจรมากขึ้นในนักเรียน การรับรู้ที่สูงขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนสำหรับนักเรียนที่พบในผู้ปกครองและผู้ขับขี่ การจราจรที่จัดระเบียบดีทำให้ถนนไม่ยุ่งจนเกินไป หน่วยงานสาธารณะผู้ปกครองผู้ขายต่างให้ความสนใจต่อความปลอดภัยของเด็กเดินเท้าดังนั้นจึงประสานงานอย่างดีในการแก้ไขความเสี่ยง

ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนโดยเฉพาะจาก Safe Kids Thailand, Safe Kids Worldwide และ FedEx

 


 

Facebook Comments