เมษายน 2556

 

*    “2554-2563 ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน – ขอเส้นทางเดินปลอดภัยให้เด็กๆ ”

‘UN Global Road Safety Week – every child deserves a safe place to walk’

 

.....เด็กทุกคนสมควรได้เดินบนเส้นทางที่ปลอดภัย 

.....ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากเห็นลูกตัวเองตายจากการถูกรถชน

.....ไม่มีผู้ใหญ่คนไหนอยากเห็นเด็กๆ ตายจากการถูกรถชน

.....แต่ จะมี “ผู้ใหญ่สักกี่คน ที่ช่วยจะหยุดความสูญเสียอันใหญ่หลวงนี้ ”???

...ในแต่ละปี อุบัติเหตุทางถนน ได้คร่าชีวิตเด็กไปไม่ต่ำกว่า 133,000 คน

...ในทุก 3 นาที จะมีเด็ก 1 คนตายจากอุบัติเหตุทางถนน

...กลุ่มเด็กเดินเท้า เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงจากการถูกรถชนขณะเดินไปกลับบ้านและโรงเรียน

...ฟุตบาทหรือทางเท้าในเมืองไทย มีไว้ขายของ มีไว้ให้รถมอเตอร์ไซค์ขับ ไม่ได้มีไว้ให้คนเดิน

 

การสร้างกระแสสังคม ปลุกระดมจิตสำนึกห่วงใยใส่ใจความปลอดภัยของเด็ก

ก่อนหน้านี้ทีมงานได้ปลุกกระแสสังคม ด้วย 2 กิจกรรมหลักๆ ช่วงวันที่ 24 เมษายน 2556 ถึงวันที่ 9 เมษายน 2556 ได้แก่

กิจกรรม The Long Short Walk – a World Walk for Road Safety ทีมงานได้ชักชวนจิตอาสาและผู้สนใจ ร่วมเดินรณรงค์ตามสถานที่ต่างๆ ใน กทม. ภายใต้ชื่อ The Long Short Walk – a World Walk for Road Safety  (ข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://www.mylongshortwalk.org/ ) เพื่อจุดประเด็นให้สังคมเห็นความสำคัญของผู้เดินเท้า โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ต้องได้รับการดูและใส่ใจความปลอดภัยทุกย่างก้าวบนเส้นทางเดิน อาทิ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  BTS ช่อง3 ตึกแกรมมี่ แยกอโศก และตระเวนไปตามหน่วยงาน ชุมชนต่างๆ ซึ่งกิจกรรม Long Short Walk เป็นกิจกรรมที่หลายประเทศทั่วโลกร่วมกันเดินเพื่อปลุกกระแส “ผู้เดินเท้าก็ต้องการความปลอดภัยในฐานะหนึ่งในผู้ใช้รถใช้ถนน”

 

 

กิจกรรม ลงนาม I’m walking for…

กระแสรณรงค์ความปลอดภัย ได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เด็กและเยาวชน รวมถึงสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในการร่วมลงนามบนแผ่น I’m walking for… เพื่อเป็น 1 เสียงสนับสนุนให้มีทางเท้าปลอดภัยรวมถึงปลุกกระแสความห่วงใยใส่ใจความปลอดภัยของเด็กๆ  ซึ่งจำนวนแผ่นลงนามที่รวบรวมได้ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2556 ถึงวันที่ 9 เมษายน 2556 ทั้งสิ้น 500 กว่าใบ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน ดารา ศิลปิน นักร้อง ประชาชน พ่อแม่ เด็กๆ ฯลฯ

พี่สรยุทธ์

พี่โก๊ะตี๋

พี่ป๋อ

วง Big ass

พี่หนุ่ม อรรถกร

พี่ปุ้ย พิมลวรรณ

ดีเจดาด้า

พี่กวาง เดอะสตาร์

รศ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์-CSIP

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ -ผู้จัดการ สสส.

พี่ตำรวจจราจรใจดี

รศ.พงศ์ศักดิ์ โค้วสถิตย์-รพ.รามาธิบดี

 

 

 

 

คุณพ่อผู้ห่วงใยลูก

ผอ.เขตราชเทวี

นายกเทศมนตรีตำบลตลาดเกรียบ อยุธยา

พี่วินใจดี

 

ชาวต่างชาติ

นักศึกษา

        CSIP                         หนูน้อย และ มิเชล โหย่ว

             

 

 

ซึ่งทีมงานได้สรุปประเด็นสิ่งที่ทุกคนอยากเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยบนทางเท้า ออกมาได้ 19 ข้อ (จาก 500 แผ่น)

1.    ไม่ขายของบนทางเท้า / จัดพื้นที่แผงลอยที่อื่นได้ไหม?

2.    ไม่มีมอเตอร์ไซต์วิ่งบนฟุตบาท

3.    อยากให้พื้นผิวทางเท้าเรียบ ไม่เป็นหลุม

4.    ทางเท้าสะอาด ไม่มีขยะ ทิ้งขยะให้ถูกที่ เพราะขยะอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

5.    ขอทางเท้าคืนให้กับคนเดินเท้า

6.    หยุดรถเมื่อเห็นเด็ก/คนเดินข้าม

7.    สอนเด็กให้เดินเท้าและข้ามถนนอย่างถูกต้อง รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ

8.    จัดระเบียบทางเท้า

9.    มีตำรวจ/คนดูแลเวลาข้ามถนน

10. อยากให้สัญญาณไฟคนข้าม

11. ทำทางเท้า มีรั้วกั้นอย่างชัดเจน ทาสีรั้วให้เห็นได้ชัด

12. อยากให้ขยายทางเท้า ให้เดินได้อย่างสะดวก

13. ช่วยกันดูแลเด็ก ช่วยกันดูแลอุบัติเหตุ

14. ไม่อยากให้มีคนขายของบนฟุตบาท แต่ก็เห็นใจแม่ค้า/กลัวหาของกินไม่ได้/มี ผู้ปกครองขายของบนทางเท้าเพราะความจำเป็น

15. ข้อกฎหมายห้ามให้คนเดินบนถนน

16. ไม่อยากให้มีขอทานหรือคนเร่ร่อนบนฟุตบาท/สะพานลอย

17. ขอทางจักรยานให้ขับขี่ได้อย่างสะดวก

18. แจ้งเหตุเมื่อพบทางเดินและสัญญาณไฟจราจรชำรุดเสียหาย

19. ไม่เล่นมือถือ/อ่านหนังสือเวลาใช้ทางเท้าและข้ามถนน

ซึ่งผู้แทนเด็กและเยาวชน ได้มอบแก่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปพิจารณาจัดการความปลอดภัยทางเท้าให้เกิดขึ้น ซึ่งท่านประธาน รองปลัด กทม. นายสัญญา ชีนิมิต ได้ประกาศว่า กทม. พร้อมเป็นต้นแบบเมืองที่มีทางเท้าเป็นมิตรกับผู้เดินเท้า โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ทุกคนอยากเห็นพวกเขาเติบโตอย่างมีความสุข  โดยก่อนหน้านี้ ( 9 พ.ค.56) กทม. โดย รองผู้ว่าฯ อัศวิน ขวัญเมือง ประชุมติดตามการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยบริเวณคลองหลอด รวมถึงการกำหนดหยุดตั้งวางแผงค้าทุกวันจันทร์ พบผู้ค้าให้ความร่วมมือดี พร้อมเดินหน้าต่อพื้นที่ปากคลองตลาด สยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยฯ และโบ๊เบ๊ ขณะเดียวกันสั่งห้ามผู้ค้าตั้งวางสินค้าบนสะพานลอยและทางเดินเชื่อมโดยเด็ดขาด จับปรับทันที และสั่งเก็บป้ายนักการเมืองทั่วกรุงเทพฯ เพื่อการสัญจรปลอดภัยของประชาชน

 

Safe Kids Thailand ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร / ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน / สสส. /เครือข่ายความปลอดภัยทางถนน และสื่อมวลชน โดยการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ และ FedEx จัดกิจกรรม “2554-2563 ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน–ขอเส้นทางเดินปลอดภัยให้เด็กๆ” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ณ สวนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ  เพื่อรณรงค์ทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของความปลอดภัยในการเดินเท้าของเด็กๆ สอดรับกับนโยบายของ Decade of Action for Road Safety 2010–2020 และกระตุ้นให้ภาครัฐที่รับผิดชอบนโยบายความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย เกิดการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน เน้นกลุ่มเดินเท้าที่เป็นเด็ก และรวมถึงผู้พิการและคนชรา

 

  

 

 

 

 

 

คุณทำได้!! Together we can save millions of children’s lives.

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน ด้วยสิ่งง่ายๆ ที่ท่านเริ่มทำได้ ...เช่น 

§  สอนและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กๆ ในการเดินและข้ามถนน เช่น ใช้สะพานลอยหรือข้ามทางม้าลายทุกครั้ง

§  มีน้ำใจหยุดรถทุกครั้งเมื่อท่านเห็นเด็กกำลังจะข้ามถนน 

§  ไม่สนับสนุนการใช้ทางเท้าผิดวัตถุประสงค์ เช่น ไม่อุดหนุนร้านค้าที่ใช้พื้นที่บนฟุตบาท ไม่เห็นดีเห็นงามกับมอเตอร์ไซค์ที่ขับบนฟุตบาทแล้วบีบแตรไล่เราหาว่าเดินเกะกะทางเขา  

 

และอีกมากมายที่คุณทำได้ เพื่อเด็กไทยปลอดภัยบนเส้นทางเดิน