โครงการเขตโรงเรียนปลอดภัย (Safe School Zones Project)

โครงการเขตโรงเรียนปลอดภัย (Safe School Zones Project)

ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ แนวโน้มมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสูงขึ้น องค์การอนามัยโลกระบุว่าในแต่ละปีอุบัติเหตุทางถนนได้คร่าชีวิตเด็กไปจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ 500 คน หรือในทุก 3 นาทีจะมีเด็ก 1 คนตายจากอุบัติเหตุทางถนน ในกลุ่มเด็กเดินเท้า จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงจากการถูกรถชนขณะเดินไปกลับบ้านและโรงเรียน พบการเสียชีวิต 100 กว่ารายต่อปี ในขณะที่การบาดเจ็บ มีจำนวน 2,000 กว่ารายต่อปี ซึ่งความเสี่ยงทางถนนที่เด็กต้องเผชิญมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสภาพความเป็นเมืองและความเจริญทางเศรษฐกิจ อีกทั้งเด็กจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง (Vulnerable group ที่รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้พิการ) ที่ต้องได้รับการดูแลปกป้องเป็นพิเศษ

โครงการ The School Zone คิดค้นโดย Safe Kids Worldwide เนื่องจากการที่เด็กจำนวนมากได้พบเจอกับยานยนต์และมีความเสี่ยงจากยานยนต์รอบๆ โรงเรียน จุดเริ่มต้นของโครงการนี้จึงเน้นความปลอดภัยของเด็กเดินเท้าบริเวณรอบๆโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งจะเรียกว่า “เขตโรงเรียน” (school zone) The National Center for Safe Routes to School ได้อธิบายว่า โรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีของความปลอดภัย จะ “เริ่มต้นตั้งแต่ประตูหน้า และครอบคลุมทุกเส้นทาง ทุกอาคารรอบโรงเรียน ที่มีการจราจรผ่าน” การที่มีมาตรการชะลอความเร็วจราจร จะช่วย “เตือนผู้ขับขี่รถยนต์ให้มีความระมัดระวังเป็นพิเศษ” วัตถุประสงค์ของโครงการคือการปรับปรุงความปลอดภัยของเด็กเดินเท้ารอบๆ โรงเรียน  การประเมินโรงเรียนในเขตพื้นที่และการดำเนินกิจกรรมทดสอบที่แตกต่างกัน โดยมุ่งเน้นในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานอย่างถาวร ในการประเมินความปลอดภัยของเด็กเดินเท้าจะดำเนินการโดยอาสาสมัครหรือผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนน และตัวนักเรียนโดยใช้วิธี PHOTOVOICE โครงการนำร่องนี้จะเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆ รัฐบาลและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการปรับปรุงความปลอดภัย โดยการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม การดำเนินกิจกรรมทดสอบที่มีประสิทธิภาพ และความสำคัญของการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล เป้าหมายสูงสุดคือการแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้สามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเด็กๆ ในประเทศต่างๆ ที่มีระดับทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีความหลากหลายของความเสี่ยงและปัญหารอบเขตโรงเรียน 

การคัดเลือกโรงเรียนนำร่อง 1 แห่ง (Safe School Zones: School Selection)

โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ จังหวัดน่าน ได้เข้าร่วมโครงการ Safe School Zones เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบจัดทำโครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการเดินเท้าของเด็กนักเรียน โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานอย่างถาวรที่ปลอดภัยทั้งในและบริเวณโดยรอบโรงเรียน จากการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้

Untitled-17 Untitled-16

กิจกรรม PHOTOVOICE (Safe School Zones: PHOTOVOICE)

วันที่ 26 มิถุนายน 2558 – Safe Kids Thailand จัดกิจกรรม PHOTOVOICE แก่นักเรียนโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ ชั้น ป.4-6 จำนวน 12 คน เพื่อให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับการเดินเท้าและความปลอดภัยในการจราจร และสามารถระบุอันตรายจากการเดินเท้าและหาหนทางแก้ไขปัญหา  มีขั้นตอนดังนี้ 

ภาคปฏิบัติที่ 1: ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเท้า

  • ทำแบบสำรวจเชิงพฤติกรรม
  • ทำแบบทดสอบก่อนบทเรียน
  • ทำแบบทดสอบหลังบทเรียน 

ภาคปฏิบัติที่ 2: การฝึกอบรมการถ่ายภาพ

นักเรียนได้เรียนรู้การถ่ายภาพ มารยาทในการถ่ายภาพ สามารถใช้งานกล้องถ่ายรูปและเข้าใจการทำงานพื้นฐาน เข้าใจวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพ เข้าใจความสำคัญของความปลอดภัยในขณะที่ถ่ายภาพนอกสถานที่

ภาคปฏิบัติที่ 3-4: การเรียนรู้นอกพื้นที่เพื่อการวิจัยเชิงสังเกตการณ์

  • แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม พร้อมพี่เลี้ยงกลุ่มละ 1 คน
  • กำหนดโจทย์ถ่ายภาพ “จุดเสี่ยงต่อคนเดินเท้า/ข้ามถนน บริเวณในและรอบๆ โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์” และกำหนดเส้นทางถ่ายภาพของแต่ละกลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม 1 เส้นทางถ่ายภาพ ถนนหน้าโรงเรียนจุมปีฯ ตั้งแต่ หน้าวัดมิ่งเมือง ถึง แยกข่วงเมือง

กลุ่ม 2 เส้นทางถ่ายภาพ ถนนข้างโรงเรียนจุมปีฯ ตั้งแต่ หน้าเรือนจำ ถึง แยกข่วงเมือง

กลุ่ม 3 เส้นทางถ่ายภาพ ถนนหลังโรงเรียนจุมปีฯ ตั้งแต่ ซอยข้างวัดมิ่งเมือง ถึง ทางออกเรือนจำเส้นทางหลังโรงเรียนจุมปีฯ

กลุ่ม 4 เส้นทางถ่ายภาพ เส้นทางสัญจรภายในโรงเรียนจุมปีฯ

ภาคปฏิบัติที่ 5-6: การอภิปราย และ การคัดเลือกภาพถ่าย   

  • หลังจากถ่ายภาพ นักเรียนเลือกภาพที่คิดว่าอันตรายและอยากให้แก้ไขมากที่สุดคนละ 1 ภาพ กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม “ภาพถ่ายที่ฉันเลือก” นำเสนอภาพและอภิปรายร่วมกัน ดังนี้

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 1

ชื่อ ด.ญ. ประภัสสร หมื่นจินะ (แพม)  อายุ 10 ปี  ชั้น ป.4/1 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ชื่อภาพ

“มองให้ดี..ระวังอันตราย”

Untitled-18

สถานที่ถ่ายภาพ    บริเวณหน้าโรงเรียน

Untitled-19

เสี่ยงอย่างไร “เป็นหลุมและมีเศษขยะมากมายที่อยู่บริเวณนั้น ถ้าเกิดเราไม่มอง อาจจะตกและสะดุดล้มตรงนั้นได้”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร
“กวาดทำความสะอาดให้เรียบร้อย และต้องเอาเศษขยะพวกเศษแก้วและเศษเหล็กออก”
ใครบ้างที่ควรมาช่วยปรับปรุง/แก้ไข
“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยแก้ไข”
ความเห็นอื่น -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 2
ด.ช.ชนะชัย ตามัย (กล้า) อายุ 11 ปี ชั้น ป.6/1 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์
ชื่อภาพ “ทางข้ามอันตราย”

Untitled-20

ระบุสถานที่ที่ถ่ายภาพ
“บริเวณพิพิธภัณฑ์ หน้าโรงเรียน”

Untitled-21

เสี่ยงอย่างไร
“ถ้าไม่มีทางม้าลายเอาไว้ข้ามถนน รถก็อาจจะชนนักเรียนได้”
ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร
“สร้างทางม้าลาย ป้าย แสงไฟ และไฟจราจร”
ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข
“เทศบาล ตำรวจ”
ความเห็นอื่นๆ -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 3

ด.ช.กิตติภณ ยะกับ (อาม) อายุ 12 ปี  ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ชื่อภาพ      “ที่ซื้อของอันตราย”

Untitled-22

สถานที่ที่ถ่ายภาพ      หน้าโรงเรียน

Untitled-23

เสี่ยงอย่างไร      “อันตราย เพราะทำให้รถเฉี่ยวชนเด็กได้”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “ขยายฟุตบาทให้กว้างขึ้น จะได้ไม่เกิดอันตราย”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข        “เทศบาล”

ความเห็นอื่นๆ   -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 4

ด.ญ.ทิพยาภรณ์ เอมประเสริฐ (เฟิร์น) อายุ 10 ปี ชั้น ป.5/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ชื่อภาพ     “จุดอันตราย”

Untitled-24

สถานที่ที่ถ่ายภาพ   ทางเดินระหว่างวัดและโรงเรียน

Untitled-25

เสี่ยงอย่างไร    “อาจจะสะดุด”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร

“อยากให้มันเรียงกันจะได้ไม่มีใครสะดุด จะได้ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข        “คุณครู”

ความเห็นอื่นๆ -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 5

ด.ญ.ศิริประภา อนุ (มิ้ว) อายุ 12 ปี ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ชื่อภาพ

“อันตรายอาจจะเกิดกับนักท่องเที่ยว”

Untitled-26

ระบุสถานที่ที่ถ่ายภาพ   ทางเข้า-ออกวัดภูมินทร์

Untitled-27

เสี่ยงอย่างไร      “เวลานักท่องเที่ยวมาเที่ยววัดภูมินทร์อาจจะถูกรถชนได้ เพราะไม่มีทางม้าลายให้นักท่องเที่ยวข้ามถนน”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “อยากให้สร้างทางม้าลาย เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข       “นายกเทศมนตรีเมืองน่าน”

ความเห็นอื่นๆ  -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 6

ด.ช.พงศธร สมอักษร (ไอซ์) อายุ 12 ปี  ชั้น ป.6/2  โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

Untitled-28

สถานที่ที่ถ่ายภาพ        ทางเดินตรงข้ามเรือนจำ

เสี่ยงอย่างไร      “ทางเดินแคบและมีของ ทำให้ต้องลงมาเดินบนถนน รถจะชน”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “ควรเอาของออกจากทางเดิน”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข        “เจ้าของสถานที่”

ความเห็นอื่นๆ  -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 7

ด.ญ.ณัฐธิดา เขียวสมบัติ (มิลค์)  อายุ 12 ปี ชั้น ป.6 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ชื่อภาพ  “เสาไฟฟ้าอันตรายต่อทุกคน”

Untitled-29

สถานที่ที่ถ่ายภาพ  ซอยข้างวัดมิ่งเมือง

Untitled-30

เสี่ยงอย่างไร     “เวลาฝนตก สายไฟฟ้าพวกนี้อาจเกิดการรั่วขึ้นได้ ผู้คนที่เดินมาตามทางนี้อาจจะเสี่ยงต่อการถูกกระแสไฟฟ้าช็อต”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “ควรเก็บสายไฟฟ้าที่ร่วงลงมาให้ดูเป็นระเบียบ”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข        “หัวหน้าบ้าน เทศบาล และเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า”

ความเห็นอื่นๆ  -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 8

ด.ช.นันทยศ รุ่งทอง (ไนท์)  อายุ 12 ปี  ชั้น ป.6 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ชื่อภาพ   “โค้งอันตราย”

Untitled-31

 

สถานที่ที่ถ่ายภาพ หลังโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

Untitled-32

เสี่ยงอย่างไร      “รถที่จอดอยู่ทำให้คนอื่นมองไม่เห็นเวลาเลี้ยว จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “ไม่ให้มาจอดรถตรงที่เลี้ยวเพราะทำให้มองไม่เห็นรถ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และติดกระจกโค้ง ติดป้ายห้ามจอดรถบริเวณนี้”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข        “หัวหน้าบ้าน เทศบาลเมืองน่าน ลุงจราจร”

ความเห็นอื่นๆ  -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 9

ด.ช.ธนนันท์ ไชยโย (ซัง)  อายุ 12 ปี  ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ชื่อภาพ  “หลุมอันตราย”

Untitled-33

ระบุสถานที่ที่ถ่ายภาพ ใกล้โรงเรียน

Untitled-34

เสี่ยงอย่างไร “อาจทำให้เด็กตกท่อ”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร       “เอาฝาท่อมาปิด”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข  “หัวหน้าบ้าน เทศบาล”

ความเห็นอื่นๆ  “อยากให้เอาฝาท่อมาปิด..ด่วน”

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 10

ด.ช.บูรพา กัณณลักษ์ (ดรัม)  อายุ 12 ปี ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

Untitled-35

สถานที่ที่ถ่ายภาพ    บริเวณประตูหลังโรงเรียน

Untitled-36

เสี่ยงอย่างไร                      “เสี่ยงต่อการที่เด็กจะวิ่งสะดุดล้มได้”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “นำปูนมาเททับ แล้วทำรางประตูใหม่”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข        “ผู้อำนวยการโรงเรียน เทศบาล”

ความเห็นอื่นๆ -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 11

ด.ญ.นภัสนันท์ พุทธรักษ์ (แคท) อายุ 11 ปี  ชั้น ป.6/1 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ตั้งชื่อภาพ  “หินอันตราย”

Untitled-37

สถานที่ที่ถ่ายภาพ     ใต้ต้นไม้ในโรงเรียน

Untitled-38

เสี่ยงอย่างไร       “น้องวิ่งเล่นแล้วอาจจะสะดุดหินหกล้มได้รับบาดเจ็บ”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “เอาหินที่แตกออกไป แล้วเทพื้นใหม่”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข         “เทศบาล ผู้อำนวยการโรงเรียน  ภารโรง”

ความเห็นอื่นๆ  -ไม่มี-

************************************

เจ้าของภาพถ่ายคนที่ 12

ด.ญ.ชนาภา เพิ่มสุข (อุ้ม) อายุ  12 ปี ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

ตั้งชื่อภาพ  “เหล็กแหลมหน้าโรงเรียน”

Untitled-39

สถานที่ที่ถ่ายภาพ   หน้าโรงเรียน

Untitled-40

เสี่ยงอย่างไร      “เมื่อเดินเข้ามาในโรงเรียน น้องๆ อาจจะเดินมาชนกับเหล็กทำให้เกิดอันตรายได้”

ปรับปรุง/แก้ไขให้ปลอดภัยอย่างไร    “ขยับเหล็กเข้าไปข้างใน เพื่อไม่ให้มันยื่นออกมา”

ใครบ้างที่มาช่วยปรับปรุง/แก้ไข        “ภารโรง หรือ จ้างช่างมาซ่อมหรือขยับเหล็ก”

ความเห็นอื่นๆ  -ไม่มี-

************************************

ภาคปฏิบัติที่ 5: การอภิปราย และการคัดเลือกภาพถ่าย

  • นักเรียนลงมติร่วมกันเลือกภาพที่อันตรายที่สุดและอยากให้แก้ไขที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 (12 คะแนน) มี 2 ภาพที่ได้คะแนนโหวตเท่ากัน

1.ชื่อภาพ   “ทางข้ามอันตราย”

   เจ้าของภาพ ด.ช.ชนะชัย ตามัย (กล้า) อายุ 11 ปี  ชั้น ป.6/1 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

Untitled-41

2.ชื่อภาพ   “เสาไฟฟ้าอันตรายต่อทุกคน”

เจ้าของภาพ ด.ญ.ณัฐธิดา เขียวสมบัติ (มิลค์) อายุ 12 ปี ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

Untitled-29

อันดับ 2 (11 คะแนน)

               ชื่อภาพ “ที่ซื้อของอันตราย”

               เจ้าของภาพ ด.ช.กิตติภณ ยะกับ (อาม) อายุ 12 ปี ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

Untitled-22

อันดับ 3 (10 คะแนน)

               ชื่อภาพ   “เหล็กแหลมหน้าโรงเรียน

               เจ้าของภาพ  ด.ญ.ชนาภา เพิ่มสุข (อุ้ม) อายุ  12 ปี ชั้น ป.6/2 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์

Untitled-39

 

Facebook Comments